ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท*

0
1198

*ผู้เขียน: แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม

บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเจตสิก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยธรรมอันเกิดจากความเข้าใจแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์อรรถกถาอัฏฐสาลินี คัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์อภิธรรมาวตาร คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ คัมภีร์อภิธรรมมัตถวิภาวินีฎีกา คัมภีร์ปรมัตถทีปนี และตำราปรมัตถโชติกะแสดงจำนวนจิต 89 ดวง หรือ 121 ดวง ทั้งหมดมีชื่อเรียกตามหน้าที่และลักษณะอาการที่เกิดขึ้น แบ่งกลุ่มจิตที่เป็นเหตุ จิตที่เป็นผล จิตที่ไม่เป็นเหตุและผล มีทั้งหมด 4 ระดับคือ 1.ระดับเบื้องต้น 2.ระดับกลาง 3.ระดับสูง 4.ระดับสูงที่สุด สำหรับในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกปรากฏชื่อว่า จิต มโน วิญญญาณเท่านั้นไม่ปรากฏจำนวนของจิต 2) การที่จิตแสดงพฤติกรรมด้านดี พฤติกรรมด้านไม่ดีหรือพฤติกรรมระดับกลางนั้นอันเนื่องมาจากเจตสิกจำนวน 52 ดวงอันเป็นรากฐานให้เกิดพฤติกรรม 3) การพัฒนาจิตให้มีคุณค่าทางจริยธรรมคือการพัฒนาจิตระดับเบื้องต้นให้มีความผ่องใส ตามรักษาจิตที่ผ่องใสให้มีความผ่องใสได้นานโดยการฝึกกรรมฐานเพื่อนำไปสู่ความสุขทางจิตอย่างยั่งยืน.

*บทความเรื่อง”ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” ตีพิมพ์ในวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2563)

ดาวน์โหลดอ่านเนื้อหาฉบับสมบูรณ์