บัณฑิตวิทยาลัยจัดโครงการทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย

0
1997

บัณฑิตวิทยาลัย โดยโครงการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคเสาร์-อาทิตย์  นำโดย ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม ผู้อำนวยการโครงการฯ ได้นำนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคเสาร์-อาทิตย์ รุ่นที่ ๓๒ เดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ในโครงการทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ณ ไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ ๔-๕ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยมี พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ให้การต้อนรับและเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัว “พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่” พร้อมกับสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนากับเหตุการณ์ปัจจุบันกับคณาจารย์และนิสิตอย่างเป็นกันเอง


   












บทความ-แนวคิดและคติธรรมจากไร่เชิญตะวัน
ปูมการเดินทาง-กรุงเทพ-เชียงราย-ไร่เชิญตะวัน
วัดป่าหมากหน่อ
ไร่เชิญตะวัน
รักการอ่านจากไร่เชิญตะวัน ศรีนวลพรรณ์
ความประทับใจและประโยชน์ที่ได้รับฯ
บทความ พระเมธีวชิโรดมนักปราชญ์แห่งลานนา

ขอขอบคุณข้อมูล:
ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม ผอ.โครงการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคเสาร์ อาทิตย์
ขอขอบคุณภาพกิจกรรม:
พระวัชรพล ศาลาแดง/พระมหาภูมิพัฒน์ คำมี

บันทึกการฟังบรรยายพิเศษ พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ณ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย คืนวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓
🖋 ผู้บันทึก/เรียบเรียง : พระมหาภูมิพัฒน์ ญาณวุฑฺโฒ
=====
ปล. การบันทึกในบางประโยคนั้นผู้บรรยาย (พระเมธีวชิโรดม) ไม่ได้เป็นผู้กล่าวโดยตรง เป็นประโยคที่ผู้บันทึก (ข้าพเจ้า) ฟังมา แล้วทำความเข้าใจก่อนจึงเขียน เพราะในช่วงที่ฟังบรรยายนั้นก็มีผู้ร่วมฟังบรรยายคนอื่นอีก เมื่อท่านเหล่านั้นได้อ่านบันทึกของข้าพเจ้าแล้ว อาจจะเกิดข้อสงสัยได้ว่า ผู้บรรยายนั้นได้กล่าวไว้แบบนี้หรือเพราะที่ฟังมาอาจไม่ใช่แบบนั้น จึงเป็นการชี้แจงว่าบันทึกทั้งหมดนี้มีบางส่วนที่บางประโยคไม่ใช่คำดั้งเดิมทั้งหมด และเป็นการป้องกันการเข้าใจผู้บรรยาย (พระเมธีวชิโรดม) ผิด หากมีข้อมูลใดที่ผิดพลาด หากมีข้อผิดพลาดขอให้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน มิใช่ผู้บรรยาย และต้องอภัยไว้ ณ ที่นี้
—-
ปล. 2 มีเนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรือคำถามปัญหาชีวิต ที่ผู้ร่วมฟังบรรยายท่านอื่นได้สอบถามต่อผู้บรรยาย ข้าพเจ้าได้บันทึกไว้ หากท่านที่สอบถามไม่ได้บันทึกไว้ส่วนตัว แล้วได้มาอ่านก็จะทำให้ระลึกได้ถึงเรื่องที่ถามในวันนั้น ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัย หรือนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต หรือในส่วนของท่านที่ไม่ได้ไปร่วมฟังบรรยาย ได้มาอ่านก็อาจจะได้ประโยชน์บ้างก็ได้

ปล. = ปัจฉิมลิขิต โดยส่วนตัวผู้เขียนมักใช้เพื่ออธิบายเนื้อความที่กล่าว และย้ำถึงความสำคัญบางประการ

ข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ก่อตั้งโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ  ( ว.วชิรเมธี) พระนักคิด นักเขียน นักเทศน์ และนักพัฒนาสังคมชื่อดัง เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก บนเนื้อที่กว่า ๑๗๐ ไร่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จากแรงบันดาลใจ ที่จะหาที่ปลีกวิเวกปฏิบัติธรรม ปัจจุบันกลายเป็นศูนย์วิปัสสนาสากลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะ  แบบสัปปายะ  ง่าย- งาม-ธรรมดา ท่ามกลางธรรมชาติที่สดชื่นร่มเย็นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ร่มรื่นในด้วยธรรมะเพื่อรองรับประชาคมโลก ที่สนใจใฝ่ธรรม ให้พ้นทุกข์ไปพร้อมกัน

ศิลปะแบบเซนกับล้านนาไทยในไร่เชิญตะวันนี้  ยังคงความงดงามตามธรรมชาติ ที่เป็นแก่นแท้ทางพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากอาคารวิปัสสนา  ถือเป็นหัวใจของไร่เชิญตะวัน ที่สร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาล้านนา เป็นไม้เก่าแบบรีไซเคิลทั้งหลัง แฝงด้วยแง่คิดที่เป็นธรรมะ คือ ธรรมชาติที่เป็นธรรมดา จัดอบรมหลักสูตรสมาธิภาวนาให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพที่งดงามแล้ว การได้มาศึกษาดูงานที่นี้นับเป็นเรื่องที่วิเศษมาก เป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญ ในทุกๆปีจะมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นธรรมะจากความเป็นธรรมชาติทุกสรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน สิ่งที่จะได้จากที่นี้คือ การได้แรงบันดาลใจและการเข้าใจในชีวิต ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา   ผ่านงานศิลปะ อาทิ ในรูปแบบต้นไม้สอนธรรม ที่มีคำตอบอยู่ในตัว ฝึกใช้ปัญญา ตีความเป็นเห็นธรรมะ มีสิทธิบรรลุธรรมได้ทันที นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ชาวนา คุณค่าที่ไม่ควรถูกลืม เพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์  แห่งศีล สมาธิ และปัญญา ให้มีความเจริญงอกงาม ลงไปในหัวใจของตนเอง  แล้วนำไปหว่านในหัวใจของคนอื่นต่อไป  หอศิลป์ สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่รวบรวม ภาพวาด และ งานประติมากรรม ซึ่งศิลปินหลายท่าน ถวายให้ท่าน ว.วชิรเมธี ไว้สำหรับเป็นสื่อสอนธรรมะผ่านงานศิลปะที่สว่างไสวด้วยปัญญา

เรียบเรียงโดย:
นางสาวปุญย์ธนิตา  วากะดวน
นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนารุ่นที่ ๓๒
บัณฑิตวิทยาลัย มจร.